วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 2
วั ศุร์ ที่  15 ม  2559
  13:3- 17:30


ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้กิจกรรมการเรียนการสอนคือ 
1.อาจารย์เช็คชื่อและพุดคุยกับนักศึกษา
2.อาจารย์นำกระดาาจำนวนหนึ่งมาให้นักศึกษาและแจกให้ ปรากฏว่า กระดาษไม่พอ ปัญหาคือ  กระดาษน้อยกว่าคน  ในกิจกรรมนี้ อาจารย์สอนให้รู้จักคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่นคำว่า  เหลือ ไม่พอ น้อยกว่า  มากกว่า  
3.อาจารย์สอนเกี่ยวกับการทำ Mind map  ให้ได้สัดส่วนที่สวยความ  ในหัวข้อ "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  แบ่งเป็น 3 กัวข้อ คือ 
               1.การจัดประสบการณ์
               2.คณิตศาสตร์
               3.เด็กปฐมวัย
และท้ายคาบอาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ Mind map เป็นการบ้าน และสรุป บทความ  ตัวอย่างการเรียนการสอย และวิจัย  ลงในบล็อค  และเชื่อมลิ้งค์บล็อคกับอาจารย์

ทักษะ
-ฝึกทักษะการคิดการวางแผน
-ทักษะการวิเคราะห์แยกแยะ


การประยุกต์ใช้
 - ประยุกต์ใช้กับการสอนในอนาคต เช่น การแจกนนมให้เด็ก  ปรากฏว่า มีนมเหลือ  แสดงว่า นมมากกว่าคน  อยากรู้ว่ามากกว่าเท่าไหร่ ให้นับนมที่เหลือ  และก็จะได้รู้ว่าในวันนั้นเด็กขาดเรียนกี่คน  เป็นการฝึกการคิดและการเรียนรู้ที่หลากหลาย

ประเมิน
 
บรรยากาศ
- อากาสภายในห้องเย็นสบาย เรียนสนุกไม่ตึงเครียด

วิธีการสอน 
-สอนแบสร้างสถานการณ์
-สอนด้วยการให้นักศึกษามีส่วนร่วม

คุณธรรมจริยธรรม
-ตรงต่อเวลา
-รู้จักหน้าที่และทำงานที่ได้รับมอบหมาย

รุ

หัวข้อ  :  คณิตศาสตร์ปฐมวัยตัวเลขกับเด็กอนุบาล


        จากคลิปวิดิโอะไปดูกันว่า ครูที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮมมีวิธีอย่างไรในการสังเกตการ­ณ์เด็ก ๆ และวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลและ­เตรียมประถม   ครูที่โรงเรียนนี้จะสอนเด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นยรายบุคคล  ทางโรงเรียนคิดว่า  ปรัชญาการเรียนรู้พื้นบานของเด็กนักเรียนเตรียมปฐมวัยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้ครูและนักเรียนได้สร้างความสัมพันธ์กัน  และคิดว่าถ้าสามารถทำให้เด็กมั่นใจกับการคิดเลขและใช้ตัวเลขตั้งแต่เนิ่นๆ  จะมีผลต่อมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ของทั้งโรงเรียน  โดยที่ครูจะปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้แน่นและจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน  เพื่อที่เด็กจะไ้คุ้นเคยกับตัวเลข  และไม่คิดว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ยากและน่ากลัว  โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กและให้เด็กเป็นผู้นำในกิจกรรมนั้นด้วย  ครูจะคอยบันทึกว่าเด็กแต่ละคนได้อะไรจากกิจกรรมบ้าง ครูจะพยายามให้เด็กรู้สึกสนุกกับคณิตศาสตร์  กิจกรรมแต่ละกิจกรรมจะเน้นให้เด็กลงมือทำเอง  ดดยที่ครุจะดูว่าช่วงไหนควรเข้าไปช่วย  ช่วงไหนควรปล่อยให้เด็กทำเอง  
        การเรียนตลอดหลัดสูตร  ทางโรงเรียนจะจัดให้เด็กเรียนคณิตศาสจร์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง  จะทรอดแทรกเพลงทางคณิตศาสตร์ที่มีท่าทางประกอบด้วยเพื่อที่จะให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และมีการติดตามผลของเด็กเรื่อยๆ และจะติดตามผลทุกครั้งหลังการทำกิจกรรมเพื่อที่จะดูว่า อาทิตย์ถัดมาครูควรที่จัดกิจกรรมอะไรให้เด็กที่ตรงกับพัฒนาการและความต้องการของตัวเด็กเอง

รุวิจั

ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผู้เขียน  :      นางสาวศรินยา  ทรัพย์วารีการศึกษา :  ปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 2  คุรุศาสตร์บันฑิต  (ค.บ.)  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย                           มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง                  การศึกษามหาบันฑิต  (กศ.ม)  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคณะกรรมการควบคุม :  อาจรย์  ดร. สุจินดา  ขจรรุ่งศิลป์ ,                                  รองศาสตร์ตราจารย์ ดร. บุญช่วย  ภัญโญ    อนันตพงษ์            กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิง  อายุ 4-5 ปี  กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2551  โรงเรียนอนุบาลสุดารักษ์  เขตบางเขน  กรุงเทพมหานคร  ได้มาดดยการเลือกแบบเจาะจงเด็กปฐมวัยห้องที่มึคะแนนเฉลี่ยน้อย  จำนวน  15 คน  ระยะเวลาในการทดลอง  8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน  จำนวน 24 ครั้ง  วันละ  60  นาที  เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า  คือ  แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร  และแบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมินกับจุดประสงค์ (IOC)  อยู่ระหว่าง  0.67 - 1.00  การวิจัยครั้งนี้ใช้แผนการทดลองแบบ  One - Group  Pretest -Poss test  Design และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง สถิติ  t- test  Dependent  sample            ผลการศึกษาพบว่า            ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับดีท้ง 4 ด้าน  คือ  ทักษะด้านการจำแนนเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ย  3.80  ทักษะด้านการจัดหมวดหมู่มีคะแนนเฉลี่ย 4.40  ทักษะด้านการเรียงลำดับมีคะแนนเฉลี่ย  4.47 ทักษะด้านการรู้จำนวนมีคะแนนเฉลี่ย  4.73  และเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

รุ

3 วิธีสอนเลขลูกด้วยอาหารประจำวัน

      วิชาคณิตศาสตร์เป็นหนึ่งในวิชาที่นักเรียนค่อนข้างขยาดกัน บางครั้งทำให้เด็ก ๆ เกิดความท้อแท้ในการเรียนเมื่อลูกอ่อนเลขและทำให้พวกเขาไม่ชอบวิชานี้ไปทั้งชีวิต คุณจะทำให้ลูกของคุณรักวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร? คุณจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกคุณกับการคิดเลขได้อย่างไร? คุณทำได้โดยใช้เกมคณิตศาสตร์สนุก ๆ นั่นเอง!
1. เล่นเกม “ไปตลาด”
      จัดร้านค้าในห้องนั่งเล่นของบ้านคุณ จากนั้นก็ติดป้ายราคาของอาหารที่คุณสามารถหาได้จากตู้เย็น ให้ลูกน้อยซื้อของหรือให้ลูกเล่นเป็นแคชเชียร์เก็บเงินที่ร้านค้า สำหรับเงิน คุณอาจใช้เหรียญบาทหรือเหรียญห้าบาท หรืออาจใช้เงินของเล่นก็ได้ นี่เป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการสอนให้ลูกคุณรู้จักการบวกลบแบบง่าย ๆ และเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูก คุณอาจติดป้ายลดราคาเป็นเปอร์เซนต์ (เช่น ลดราคา 20-30%) วิธีนี้ ลูกอาจจะต้องคำนวณราคาสินค้าด้วยตัวเอง และเพื่อให้เกมสนุกยิ่งขึ้น คุณอาจให้ลูกซื้อของสำหรับอาหารที่ลูกอยากทานเป็นมื้อเย็น จากนั้นคุณก็ทำมื้อเย็นให้ลูกทานเพื่อเป็นรางวัล
2. อาหารเช้ามาแล้ว!
     กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีและเป็นวิธีที่คาดไม่ถึงในการใช้สอนเลขบนโต๊ะทานข้าวให้กับลูกของคุณ ถ้าคุณทำวัฟเฟิล ขนมปังปิ้ง หรือแพนเค้กสำหรับมื้อเช้า วิธีนี้จะเหมาะมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณทำมื้อเช้าสำหรับ 3 คน อย่าเพิ่งเสิร์ฟอาหาร ให้ลูกน้อยช่วยบอกวิธีที่จะตัดวัฟเฟิล ขนมปังปิ้ง หรือแพนเค้ก เพื่อให้ทุกคนในบ้านได้อาหารในปริมาณที่เท่ากัน วิธีนี้จะช่วยให้ลูกคุณเรียนรู้ถึงสัดส่วนที่เท่ากันในขณะที่ลูกได้พัฒนาทักษะการคูณและการหารไปในตัว
3. ช่วยกันทำอาหารในครัวตามสูตรอาหาร
     วิธีนี้เป็นเกมที่ดีที่ใช้สอนคณิตศาสตร์ให้กับลูกได้เช่นกัน โดยให้ลูกช่วยทำอาหารในครัว ขั้นแรก คุณอาจให้ลูกช่วยเลือกเมนูจากหนังสือสูตรอาหารที่ลูกต้องการทำ จากนั้น ให้ลูกอ่านส่วนประกอบและปริมาณที่ต้องใช้ที่ระบุในหนังสือ นี่เป็นวิธีที่ท้าทายเนื่องจากลูกจะได้ฝึกคำนวณเพื่อตวงส่วนประกอบ เช่น 1/4 ช้อนชา หรือ 1/4 ถ้วย และจะช่วยฝึกทักษะหลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะหากเมนูนั้นต้องใช้แป้ง 1/2 ถ้วยตวงและผงฟูทำขนมปัง 1 ช้อนชา ซึ่งเป็นวิธีที่น่าสนใจในการสอนเลขให้กับลูกด้วยลักษณะการตวงที่แตกต่างกัน
สิ่งที่สำคัญคือ คุณอย่าลืมทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานหรือทำให้มันเป็นเกม ลูกจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพวกเขากำลังฝึกทักษะคณิตศาสตร์อยู่

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 1
วั ศุร์ ที่  8 ม  2559
 13:30 - 17:30

ความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้เป็นชั่วโมงแรกในการเรียนการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษา พร้อมกำหนดว่า  กระดาษ 1 แผ่น แบ่งให้เป็น 3 ส่วนเท่าๆกันและให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตนเองลงในกระดาษแล้วส่งให้อาจารย์อ่านแล้วทายว่าคือนักศึกษาคนไหน  พร้อมทั้งบอกชื่อและจังหวัดเกิดของตนเอง  และอาจารย์ถามนักศึกษาว่ามีวิธีการแบ่งกระดาษกันอย่างไรและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่า นักศึกษามีวิธีการแบ่งกระดาษให้เพื่อนๆให้เป็น 3 ส่วนให้เท่าๆ กันอย่างไร  ท้ายคาบ อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการทำบล็อคส่งในรายวิชา และปล่อยให้นักศึกษาทำบล็อคส่ง


ทักษะ
    -ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
    -ฝึกทักษะการฟังและการพูด

การประยุกต์ใช้
    -นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

ประเมิน

บรรยากาศ 
      บรรยากาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่กดดัน เรียนสนุก ไม่ตึงเครียด   
วิธการสอน
      -สอนด้วยประเด็นปัญหา
      -สอนด้วยการให้นักศึกษามีส่วนร่วม
คุณธรรมจริยธรรม
      -ตรงต่อเวลา
      -มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง