สรุปวิจัย
ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผู้เขียน : นางสาวศรินยา ทรัพย์วารีการศึกษา : ปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 2 คุรุศาสตร์บันฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง การศึกษามหาบันฑิต (กศ.ม) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคณะกรรมการควบคุม : อาจรย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ , รองศาสตร์ตราจารย์ ดร. บุญช่วย ภัญโญ อนันตพงษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลสุดารักษ์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ได้มาดดยการเลือกแบบเจาะจงเด็กปฐมวัยห้องที่มึคะแนนเฉลี่ยน้อย จำนวน 15 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 24 ครั้ง วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า คือ แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร และแบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมินกับจุดประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 การวิจัยครั้งนี้ใช้แผนการทดลองแบบ One - Group Pretest -Poss test Design และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง สถิติ t- test Dependent sample ผลการศึกษาพบว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับดีท้ง 4 ด้าน คือ ทักษะด้านการจำแนนเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ย 3.80 ทักษะด้านการจัดหมวดหมู่มีคะแนนเฉลี่ย 4.40 ทักษะด้านการเรียงลำดับมีคะแนนเฉลี่ย 4.47 ทักษะด้านการรู้จำนวนมีคะแนนเฉลี่ย 4.73 และเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น