วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 6

วั ศุร์ ที่  19 กุพัธ์  2559

  13:3- 17:30

ความรู้ที่ได้รับ
          กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้อาจารแจกไม้และดินน้ำมันให้นักศึก แล้วทำตามโจทย์ที่อาจารย์บอก
โจทย์แรก  "ให้นักศึกษาทำรูปสามเหลี่ยมจากไม้และดินน้ำมันที่ให้"


ต่อมาให้ประกอบเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม


และโจทย์ต่อมาให้ประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม


ต่อมาประกอบเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม



          จากกิจกรรมข้างต้นจะเห็นได้ว่า  รูปทรงแต่ละรูปหากมองในหลายมุม จะเห็นเป็นรูปทรงที่หลากหลายและหากจะนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยก็จะไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะอาจจะอยากเกินไป ควรเปลี่ยนมาเป็๋นให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปทรงจาก บล็อก  หรือ  สิ่งของที่พบเจอบ่อยในชีวิตประจำวัน  เป็นต้น
         และจากการทำกิจกรรมข้างต้นก็สามารถบูรณาการใช้กับ วิชาต่างๆ ได้เช่น
วิชาวิทยาศาสตร์  จาก ดินน้ำมัน   เป็นต้น


กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้เพื่อนๆ ออกไปนำเสนอ บทความ  วิดิโอการสอน  และวิจัย ที่หน้าชั้นเรียน


ทักษะที่ได้
      -  ทักษะการแก้ไขปัญหา
      -  ทักษะวิคราะห์
      -  ทักษะการวางแผน

การประยุกต์ใช้
     -  สามารถนำไปเป็นแนวในวิธีการสอนเด็กในอนาคตได้  ว่า วิธีการสอนแบบไหนที่เหมาะกับเด็ก และควรเพิ่มเติมหรือปรับปรุงอย่างไร ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจได้มากที่สุด  

ประเมิน
     
บรรยากาศการเรียน
       วันนี้บรรยากาศในห้องเรียน  อากาศเย็นสบาย   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน อาจจะมีคุยกันบ้างเล็กน้อย  แต่ก็ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูไม่เงียบเหงา ทำให้ไม่ง่วงเท่าไหร่  

วิธีการสอน
      -  ใช้วิธีการสอนแบบการตั้งโจทย์ปัญหา
      -  วิธีการสอนแบบสร้างสถานการณ์จริง ให้นักศึกษาในส่วนร่วมในการคิด
      -  วิธีการสอนแบบบูรณาการ

คุณธรรมจริยธรรม 
     -   มาตรงต่อเวลา
     -   ตั้งใจเรียน
     -   มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานของตนเอง



วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 5

วั ศุร์ ที่  12 กุพัธ์  2559

  13:3- 17:30

ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้เริ่มการเรียนการสอนดดยอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และให้นักศึกษาตีตาราง  
       ตารางแรก  ตีตารางเป็น 2 แถว 10 คอลัมน์  แล้วให้นักศึกษาแรเงา  2 ช่องที่ติดกันว่าจะได้รู้ทรงอะไรบ้าง
      จากกิจกรรมไม่ใช่วิธีการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะเด็กไม่ได้ลงมือปฏิบัติ  ไม่ได้ ทดลอง ใช้มือหยิบจับ  แต่เป็นการทำตามแบบ
      แก้ไขได้ดดยการ  เพิ่มในส่วนที่จะทำให้เด็กหยิบจับได้ เช่น บล็อค  ให้เด็กทดลองมาวางและระบายเป็นรูปทรงลงไป  สำหรับเด็กโต แาจจะให้เด็กตัดแล้วก็วาดเป็นรูปทรง
      ตารางที่สอง  ตีตารางเป็น 3 แถว 10 คอลัมน์  แล้วให้นักศึกษาแรงเงา  3  ช่องที่ติดกันว่าจะได้รุปทรงอย่างไรบ้าง  หรือ สามารถเพิ่มช่องตารางได้ถ้าหากคิดว่ามีรูปทรงที่เอยะกว่าช่องตาราง



      จากกิจกรรมข้างต้นเรียกว่า วิธีการสอนแบบสืบเสาะ  และครูสามารถนำไปสอนเด็กได้ 

กิจกรรมต่อมา  
       
       เพื่อนๆนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย


คนที่ 1  นางสาวภัทรธร  ญาติสังกัด  เลขที่ 7  นำเสนอบทความ  หัวข้อ "หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"


คนที่ 2  นางสาวพรชนก  ไตรวงษ์ตุ้ม  เลขที่ 8  นำเสนอ ตัวอย่างการสอน  เรื่อง " สอนการนับเลข "


คนที่ 3  นางสาวศิริวรรณ  สุวรรณสาร  เลขที่ 9  นำเสนอวิจัย  หัวข้อ  "กิจกรรมการปั้นกระดาษ "


กิจกรรมสุดท้าย


      อาจารย์ให้ดู คลิป VDO  "การจัดรูปแบบการเรียนแบบการเรียนแบบ Proiect  Approach "
เพื่อที่จะดูว่าจากคลิป  จะสามารถบูรณามาใช้กับวิชาคณิตศาสตร์อย่างไรได้บ้าง

      และอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม  เป็น 4 กลุ่ม เท่าๆกัน  มอบหมายงาน  ตามหัวข้อดังนี้
1.การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่
2.การจัดการเรียนการสอนแบบวอลดอฟ
3.การจัดการเรียนการสอนแบบสเตม
4.การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
     ซึ่งกลุ่มดิฉันได้หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  


ทักษะที่ได้
      -  ทักษะการคิดแยกแยะ
      -  ทักษะวิคราะห์

การประยุกต์ใช้
     -  สามารถนำไปเป็นแนวในวิธีการสอนเด็กในอนาคตได้  ว่า วิธีการสอนแบบไหนที่เหมาะกับเด็ก และควรเพิ่มเติมหรือปรับปรุงอย่างไร ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจได้มากที่สุด  

ประเมิน

บรรยากาศการเรียน
       วันนี้บรรยากาศในห้องเรียน  อากาศเย็นสบาย   เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน อาจจะมีคุยกันบ้างเล็กน้อย  แต่ก็ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูไม่เงียบเหงา ทำให้ไม่ง่วงเท่าไหร่  

วิธีการสอน
      -  ใช้วิธีการสอนแบบการสือเสาะ
      -  วิธีการสอนแบบสร้างสถานการณ์จริง ให้นักศึกษาใีส่วนร่วมในการคิด

คุณธรรมจริยธรรม 
     -   มาตรงต่อเวลา
     -   ตั้งใจเรียน
     -   มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานของตนเอง


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 4

วั ศุร์ ที่  5 กุพัธ์  2559

  13:3- 17:30

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการอาจารย์แจกป้ายชื่อให้คนละ 1 ใบ เขียนชื่อตัวเอง แล้วไปติดบนกระดาน โดยที่บนกระดานอาจารย์วาดตาราง  เวลาการตื่นนอน จะมี 3 ช่อง คือช่องแรก คนที่ตื่นก่อน 7:00   ช่องที่ 2  ตื่นนอนเวลา  07:00  ช่องที่ 3  ตื่นนอนหลัง 07:00
ซึ่งกิจกรรมจากตารางข้างต้นใช้ไม่ได้กับเด็กปฐมวัย เพราะยากเกินไป เด็กยังดูนาฬิกาไม่เป็น   
     จะปรับปรุงโดยการ  ให้เด็กจดบันทึกก่อน หรืออาจจะให้พ่อแม่จดบันทึกมาให้ตั้งแต่บ้าน แล้วนำมาติด  เพราะการเรียบนการสอนไม่ใช่จัดอยู่แค่ในห้องเรียน หรือ ไม่ใช่แค่ครูที่โรงเรียนจัด  ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วยเช่นกัน
      กิจกรรมต่อมาอาจารย์เขียนตัวเลขไว้บน กระดานโดยมาตัวเลขดังนี้
3525    11  155  350
       แล้วให้นักศึกษาทายว่าตัวเลขที่นักศึกษาเห็นเกี่ยวข้องหรือสำคัญกับอาจารย์อย่างไร  ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกไปเขียนตัวเลขที่สำคัญ 1 คน ซึ่ง คือดิฉันเอง  ตัวเลขที่ดิฉันออกไปเขียนคือ
20   37  138  3204
      แล้วให้เพื่อนๆทายว่า ตัวเลขข้างต้นเกี่ยวข้องหรือสำคัญกับดิฉันอย่างไร ซึ่งแต่ละตัวเลขมีความสำคัญดังนี้
20  =  จำนวนเพื่อนในห้อง
37  =  คือตัวเลขที่เป็นสิริมงคลสำหรับตัวดิฉัน
138  =  เลขทะเบียนบ้าน
3204  =  เลขห้องพัก
จากกิจกรรมข้างต้นคือ ตัวเลขล้วนแต่อยู่ในชิวิตประจำวันของเราที่พบเห็นกับบ่อยๆ


       กิจกรรมต่อมา  อาจารย์เอาสื่อออกมาให้ดู 1 ชิ้น พร้อมถามว่าสื่อที่อาจารย์นำมาในวันนี้เหมาะสมหรือควรแก้ไขในส่วนไหนบ้าง  เช่น  สีที่ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  เพราะว่า เป็นสีสะท้อนแสง
       สิ่งที่เด็กได้รับจากสื่อชิ้นนี้คือ  เด็กมีประสบการณ์จากตัวเลขและเด็กได้เอาตัวเลขไปแปะบนสื่อ  ได้รู้จักสีประจำวัน  เช่น  วันนี้สีอะไร  3 วันที่ผ่านมาคือวันอะไร  วันแรกของสัปดาห์คือวันอะไร 
       เกมส์การศึกษามีทั้งหมด  8 ประเภท
1.จับคู่
2.ภาพตัดต่อ
3.วางภาพต่อปลาย
4.การเรียงลำดับ
5.จัดหมวดหมู่
6.เกมศึกษารายละเอียดภาพ
7.พื้นฐานการบวก
8.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์

       กิจกรรมหลักมีทั้งหมด 6 กิจกรรม
1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.เกมการศึกษา

      ต่อมาเพื่อนๆออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  



1.นางสาววนิดา  สาเมาะ   นำเสนอ  วิจัย "การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย"
2.นางสาวปรีชญา  ชื่อแย้ม  นำเสนอ  ตัวอย่างการสอน VDO "ตัวเลขกับเด็กปฐมวัย"
3.นางสาวเรณุกา  บุญประเสริฐ  นำเสนอ วิจัย "ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
4.นางสาว หทัยชนก  นำเสสนอ  บทความ  "สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก"

     ต่อมาอาจารย์บรรยายหัวข้อ " สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย"เพิ่มเติมจากอาทิตที่แล้ว  โดยมีทั้งหมด 6 สาระ  ดังนี้
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ 
      สาระที่ 2 : การวัด 
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน 
      สาระที่ 4 : พีชคณิต 
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 



      และสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำสเนอของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
ทักษะ 
     ทักษะการคิดวิเคราะห์
     ทักษะการนับ การจัดหมวดหมู

การประยุกต์ใช้
     การเลือกสื่อให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก

วิธีการสอน
     อาจารย์สอนแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม  จะสอดแทรกเนื้อหาทางด้านคุณธรรมจริยธรรม   

คุณธรรมจริยธรรม
     แต่งกายเหมาะสม
     ตรงต่อเวลา
     มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
     



เกมจับคู่รูปทรงและสี


วิธีการเล่น : ไขน็อตพลาสติกให้ตรงกับแผ่นโจทย์ที่กำหนด 
ประโยชน์การเล่น : เสริมสร้าง IQ กับการเรียนรู้เรื่องสีและรูปร่าง ฝึกการสังเกตและการจับคู่ช่วยฝึกการสังเกต ส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ฝึกสมาธิ

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัทึรั้ที่ 3
วั ศุร์ ที่  29 ม  2559
  13:3- 17:30

ความรู้ที่ได้รับ

    กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์แจกแนวการสอนให้นักศึกษาคนละ 1 ฉบับ พร้อมทั้งแจกกระดาษแข็งให้คนละ 1 ใบ ให้นักศึกษาเขียนชื่อตนเอง แล้วนำไปติดที่หน้ากระดาน  บนกระดานจะมี 2 ฝั่ง ฝั้งนักเรียนที่มาเรียน และนักเรียนที่ขาดเรียน จะได้รู้ว่า วันนี้นักเรียนมาเรียน กี่คน ขาดกี่คน นักเรียนทั้งหมดมีกี่คน
 

  จากกิจกรรมข้างต้นนี้ เด็กจะได้ทักษะทางด้าน  การนับเลข และบอกจำนวนได้  เขียนเลขฮินดูอาราบิกได้   บวกลบเลข  รู้จักการเปรียบเทียบ    
   การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยควรสอนไปตามลำดับขั้นตามพัฒนาการของเด็ก  ตัวอย่างเช่น   
                           เด็กเล็ก   ครูควรจะเขียนตัวเลขให้เด็กดู เพราะเด็กยังเขียนไม่ได้
                           เด็กโต  ควรจะมีบัตรคำ แสดงตัวเลขต่างๆให้ชัดเจน 
                           และเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อย ก็ควรจะให้เด็กฝึกเขียน

   กิจกรรมต่อมา  อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย ในสัปดาห์นี้ เลขที่ 1-3 เป็นคนนำเสนอ 
 คนแรก คือ  นางสาวสุริยาพร  กลั่นบิดา  นำเสนอวิจัย  หัวข้อ  การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
              2   นางสาวประวีณา  หงษสุด  นำเสนอ  VDO  การสอน เจ้าแกะจอมฉลาด
              3   นางสาวปรียา  นักทำนา  นำเสนอ  บทความ  หัวข้อ  เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์


     กิจกรรมต่อมา อาจารย์บรรยาย  หัวข้อ  "ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา"






อาจารย์นำร้องเพลงคณิตศาสตร์







ทักษะ
  -ทักษะการนับจำนวน
  -ทักษะการคิด วิเคราะห์
  -ทักษะการบวกลบ  การเปรียบเทียบ

การประยุกต์ใช้
     สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตโดยการจัดการเรียนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย  สอนไปตามพัฒนาการของเด็ก ไม่สอนแบบก้าวกระโดด

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
   อาจารย์สอนแบบให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จริง  ให้ฝึกคิด วิเคราะห์และยกตัวอย่างได้เห็นอย่างชัดเจน  เข้าใจนักศึกษา  เป็นกันเอง จึงทำให้ บรรยากาศในห้องไม่ตึงเครียด 

วิธีการสอน
  -สอนแบบบูรณาการณ์
  -สอนจากสถานการณ์จริงและให้นักศึกษามีส่วนร่วม

คุณธรรม  จริยธรรม
    -  ตรงต่อเวลา 
    - รับผิดชอบหน้าที่ตนเอง